วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2554

บทความนี้ต่อเนื่องจากบทความที่แล้วนะครับ....รูปภาพของ นาง สงกรานต์ ทั้ง 7...และนางสงกรานต์ประจำปี 2554 นี้ ^^

นางสงกรานต์ทั้ง 7


นางสงกรานต์ประจำแต่ละวัน



วันอาทิตย์ ชื่อ ทุงษะเทวี 
   ทัดดอก: ทับทิม เครื่องประดับ: ปัททุมราช ภักษาหาร: ผลมะเดื่อ
อาวุธขวา: จักร ซ้าย: สังข์ พาหนะ: ครุฑ


วันจันทร์ ชื่อ โคราคะเทวี  
   ทัดดอก: ปีบ เครื่องประดับ: มุกดา ภักษาหาร: น้ำมัน
อาวุธขวา: พระขรรค์ ซ้าย: ไม้เท้า พาหนะ: เสือ


วันอังคาร ชื่อ รากษสเทวี  
    ทัดดอก: บัวหลวง เครื่องประดับ: โมรา ภักษาหาร: โลหิต
อาวุธขวา: ตรีศูล ซ้าย: ธนู พาหนะ: สุกร

วันพุธ ชื่อ มณฑาเทวี 
     ทัดดอก: จำปา เครื่องประดับ: ไพฑูรย์ ภักษาหาร: นมเนย
อาวุธขวา: เข็ม ซ้าย: ไม้เท้า พาหนะ: ลา



วันพฤหัสบดี ชื่อ กิริณีเทวี
   ทัดดอกมณฑา เครื่องประดับมรกต ภักษาหารถั่วงา หัตถ์ขวาถือขอช้าง หัตถ์ซ้ายถือปืน มีช้างเป็นพาหนะ 


วันศุกร์ ชื่อ กิมิทาเทวี
ทัดดอกจงกลนี เครื่องประดับบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ
หัตถ์ขวาถือพระขรรค์ หัตถ์ซ้ายถือพิณ มีมหิงสา (ควาย)เป็นพาหนะ


วันเสาร์ ชื่อ มโหทรเทวี 
     ทัดดอก: สามหาว เครื่องประดับ: นิลรัตน์ ภักษาหาร: เนื้อทราย
อาวุธขวา: จักร ซ้าย: ตรีศูล พาหนะ: นกยูง



นางสงกรานต์ประจำปี 2554


     วันสงกรานต์ ปีพุทธศักราช 2554 สงกรานต์ปีใหม่ไทย นี้ตรงกับปีเถาะ นางสงกรานต์ มีนามว่า กิริณีเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่ว งา พระหัตถ์ขวาทรงขอ พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จนั่งมาเหนือหลังกุญชร (ช้าง) เป็นพาหนะ วันที่ 14 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 5 เวลา 13 นาฬิกา 25 นาที 25 วินาที วันที่ 16 เมษายน เวลา 17 นาฬิกา 31 นาที 12 วินาที เปลี่ยนจุลศักราชใหม่ เป็น 1373 วันศุกร์เป็นธงชัยและอธิบดี วันพฤหัสบดี เป็นอุบาทว์ วันอาทิตย์เป็นโลกาวินาศ น้ำฝนปีนี้ วันพุธ เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 600 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 60 ห่า ตกในมหาสมุทร 120 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 180 ห่า ตกในเขาจักรวาล 240 ห่า นาคให้น้ำ 5 ตัว เกณฑ์ธัญญาหาร ได้เศษ 6 ชื่อ ลาภะ ข้าวกล้าในภูมินาจะได้ผล 9 ส่วน เสีย 1 ส่วน ธัญญาหาร ผลาหาร มัจฉมังษาหาร จะบริบูรณ์ เกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีปถวี (ดิน) น้ำงามพอดี

นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการพิเศษ สวธ. กล่าวอีกว่า จากคำประกาศสงกรานต์ดังกล่าวจะตรงกับคำทำนายและความเชื่อคนโบราณซึ่งจาก หนังสือตรุษสงกรานต์ของนายสมบัติ พลายน้อย ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2553 ได้กล่าวถึงความเชื่อเกี่ยวเนื่องนางสงกรานต์เสด็จนั่งมาบนหลังช้าง วันมหาสงกรานต์ตรงกับวันพฤหัสบดี วันเนาตรงกับวันศุกร์ และวันเถลิงศกตรงกับวันเสาร์ รวมคำทำนายว่าจะเกิดความเจ็บไข้ ผู้คนล้มตาย และเกิดเหตุเภทภัยต่างๆ นอกจากนี้ผู้น้อยจะแพ้ผู้เป็นใหญ่และเจ้านาย แร้งกาจะเป็นโรคสัตว์ป่าจะเป็นอันตราย แต่แม่หม้ายจะมีลาภ และบรรดาทหารทั้งปวงจะมีชัยชนะแก่ข้าศึกศัตรู ส่วนคำทำนายของล้านนาบอกว่า ปีนี้ฝนจะตกเสมอต้นเสมอปลายชอบตามฤดูกาล ผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่จักมีอันตราย ช้างม้าวัวควายจักตายมากนัก ไพร่ราษฎรจักอยู่ดีมีสุข ขุนใหญ่ ปุโรหิต พระสงฆ์จักเป็นทุกข์ คนเกิดวันศุกร์มีเคราะห์ คนเกิดวันอาทิตย์มีโชค

“จากคำทำนายค่อนข้างออกไปร้ายมากกว่าดี แต่นางสงกรานต์กิริณีเทวีนั่งมาบนหลังช้างซึ่งถือเป็นสัตว์ใหญ่ที่เป็นมงคล จะช่วยขับไล่สิ่งร้ายๆ ให้ออกไป และยังทัดดอกมณฑาเป็นดอกไม้ทิพย์อยู่บนสวรรค์ คนไทยโบราณเชื่อว่าจะช่วยพ้นวิกฤติจากหนักเป็นเบา เมื่อรวมกับภักษาหารที่เป็นถั่วงา ทางพืชผลข้าวปลาอาหารยังมีความสมบูรณ์อยู่ ส่วนคำทำนายที่ว่าทหารจะมีชัยชนะแก่ข้าศึกศัตรู ก็น่าจะแสดงถึงความสงบสุขของบ้านเมืองในปีนี้ด้วย อย่างไรก็ตามคำทำนายดังกล่าวมาจากตำราตรุษสงกรานต์ ”
 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น